05 May 2015

Assignment 2: สุขภาพจิตของคุณน่าเป็นห่วงแค่ไหน?

เนื่องจากปัจจุบันการใช้ชีวิตคนของเรานั้นเต็มไปด้วยการแข่งขันและความกดดันจากสิ่งรอบข้างเสมอ ทั้งหน้าที่การงาน สถานะทางสังคม โดยเฉพาะความกดดันจากความขาดหวังของตัวเองและผู้อื่น ซึ่งเมื่อสะสมความกังวลเหล่านี้ไว้มากๆแล้วนั้นมักจะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตตามมา ซึ่งหากไม่ได้รับการเยี่ยวยาหรือรับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการบกพร่องทางจิตหนักขึ้นจนถึงขั้นทำร้ายตัวเองละผู้อื่นได้ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางจิตจึงควรเข้ารับการรักษาและบำบัดตามขั้นตอนของจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อยับยังอาการของโรค หรือรักษาให้หายขาด

ทั้งนี้ หลายคนอาจมี ความเข้าใจผิด ว่าการเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์นั้น จำเป็นจะต้องป่วยเป็นโรคจิตเภท (วิกลจริต) เท่านั้นถึงจะเข้ารับการรักษาได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่มีสภาวะซึมเศร้า ผู้ที่ติดสารเสพติด ผู้ที่มีความวิตกกังวล หรือหมกมุ่นกับบ้างสิ่งบางอย่างมากจนเกินไป ก็สามารถรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้เช่นกัน ดังนั้น การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพจิตในครั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงภัยร้ายในตัวเรา และหวังว่าทุกท่านจะหันมาดูแลและเอาใส่ใจสุขภาพจิตของตัวเองมากยิ่งขึ้น

โรคทางจิตเวช คือ?

โรคจิตเวช คือ กลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้นเกิดความทุกข์ทรมาน หรือมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ โรคจิตเวชแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยถือเอาสาเหตุและอาการเป็นตัวกำหนดโรคนั้นๆ โรคจิตเวชที่พบบ่อยๆ ได้แก่
  1. โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  2. โรคซึมเศร้า (Depression)
  3. โรควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized Anxiety Disorder)
  4. ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้สารเสพติด (Substance-related Disorder) 
ที่มา (http://www.thaifamilylink.net/web/node/29)

โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น

ที่มา (http://www.manarom.com/article-detail.php?id=93)

โรคซึมเศร้า (Depression) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ซึ่งอาจเกิดจากความสูญเสียหรือความผิดหวัง โดยผลของโรคจะกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) คือ เป็นกลุ่มอาการของโรคจิตเวชที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง เป็นอาการวิตกกังวลที่มากเกิดกว่าคนปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อคนเราจะมีความวิตกกังวลเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆเข้ามาและความกังวลจะหมดไปเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไป แต่ในผู้ที่มีอาการของโรควิตกกังวลนั้นอาการกังวลเหล่านี้จะยังคงมีอยู่แม้เหตุการณ์นั้นๆจะผ่านไปแล้ว ก่อให้เกิดความหวาดระแวง ย้ำคิดย้ำทำถึงความหวาดกลัวเหล่านั้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้

ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้สารเสพติด (Substance-related Disorder) เป็นความผิดปรกติจากระบบประสาท ซึ่งสารเสพติดที่เข้าสู้ร่างกายส่วนใหญ่จะเข้าไปทำลายระบบประสาท ก่อให้เกิดภาพหลอน อาการซึมเศร้า หรือทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่ายและส่งผลให้เกิดความรุนแรงตามมา

อะไรคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคจิตเวช?

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคจิตเวชนั้นมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยจากภายในและปัจจัยเร่งที่เป็นตัวเร่งให้อาการกำเริบ ซึ่งปัจจัยเร่งนั้นก็จะเป็นจำพวก ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง การที่สมองเสื่อมถอย ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน ความเครียด เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจคือปัจจัยที่เกิดจากภายใน เพราะนอกจาก สาเหตุจะเกิดจากพื้นฐานอารมณ์ของแต่ละบุคลแล้ว โรคทางจิตเวชยังสามารถเกิดจากพันธุกรรมได้อีกด้วย!!!



ทำไม ‘โรคจิตเวช’ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง?

เพราะโรคจิตเวชนั้นเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รักการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องถึงจะส่งผลในทางที่ดี แต่ในประเทศไทยนั้นเรายังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยจึงมักไม่ทราบว่าตัวเองป่วยจนกระทั้งมีอาการของโรคที่แสดงออกมาชัดเจนแล้วถึงจะได้รับการรักษา หรือในผู้ป่วยบางรายเมื่อทราบว่าตัวเองป่วยก็จะเกิดการอาการต่อต้านและไม่ยอมรับความจริง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาเพราะกลัวคนรอบข้างกล่าวหาว่าตนเป็นบ้า ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาณต่อตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือในบางรายอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเองและผู้อื่นได้ ทั้งนี้ในประเทศไทยยังมีแนวโน้มของผู้ป่วยโรคจิตเวชเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย

และจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติถึงสุขภาพจิตของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปี จะเห็นได้ว่ามีคนไทยเกือบ 20 เปอร์เซ็นที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต และมีคนไทยเพียงไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นเท่านั้นที่มีสุขภาพจิตที่ดีกว่าปกติ


แนวโน้มของโรคจิตเวชในไทย
ในปัจจุบันนั้นโรคจิตเวชในไทยมีแนวโน้มของอัตราการป่วยพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และที่น่าสังเกตุคือแม้ว่าโรคจิตเวชจะยังคงมีอัตราการป่วยน้อยกว่าโรคยอดนิยมอย่างโรคหัวใจอยู่ถึง 49.16 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับมีอัตราการป่วยไม่แตกต่างกันมากนักในโรคหลอดเลือดในสมอง และที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งคือ โรคที่พบได้ง่ายในปัจจุบันอย่างโรคมะเร็งกลับมีอัตราการป่วยของโรคน้อยกว่าโรคจิตเวชอย่างเห็นได้ชัดถึง 31.54 เปอร์เซ็นต์


เปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคจิตเวชต่อโรคสำคัญต่างๆ


จากการแบ่งประเภทของโรคจิตเวช ได้แก่ โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ติดยาเสพย์ติด และการการฆ่าตาย พบว่าโรคจิตเภทมีอัตราค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยมากที่สุด เนื่องจากโรคจิตเภทใช้เวลาในการรักษานานกว่าโรคทางจิตอื่นๆและบางครั้งอัตราการกลับมาเป็นซ้ำพบได้ง่ายกว่าโรคจิตเวชประเภทอื่นๆ


ซึ่งจากการจัดลำดับข้อมูลของโรคที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียสุขภาวะ 20 อันดับ จะเห็นได้ว่าถึงแม้โรคจิตเวชจะไม่ก่อให้เกิดอัตราการสูญเสียถึงชีวิตมากนัก แต่กลับก่อให้เกิดความเจ็บป่วย พิการ หรือทุกข์ทรมาณในการใช้ชีวิตเป็นลำดับต้นๆ ในจำนวนของโรคสองร้อยกว่าโรคที่พบได้ทั่วไป

 

จากผลสำรวจความเสี่ยงของการเกิดโรคทางจิตเวชนั้นพบว่า เพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าเพศชายในทุกๆ ช่วงอายุ และจะมีอัตราการเกิดโรคมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเพศหญิงมีความคิดซับซ้อนทางจิตใจมากกว่าเพศชาย มักคิดมากและวิตกกังวลแม้แต่ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ



การเข้ารับการรักษา
  • เข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการปรึกษาจากนักจิตวิทยาได้ โดยนักจิตวิทยาจะใช้การพูดคุยและปรับมุมมองกับคนไข้เป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนมากผู้ป่วยที่เข้ารับการปรึกษาจะเป็นผู้ป่วยประเภทที่เกิดความบกพร่องทางด้านจิตใจ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น แต่หากผู้ป่วยมีอาการขั้นรุนแรง นักจิตวิทยาจะแนะนำให้เข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์โดยตรง
  • เข้าพบจิตแพทย์ การเข้าพบจิตแพทย์นั้นผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับโรพยาบาลที่มีแผนกจิตเวชได้เลย โดยคุณหมอสามารถให้คำปรึกษา และจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ หรือหากมีอาการค่อนข้างรุนแรงคุณหมอสามารถทำการรักษาต่อได้เลย
  • โทรปรึกษาปัญหาทางจิตเวช สำหรับผู้ป่วยที่ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์โดยตรง หรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเดินทางเข้าไปพบจิตแพทย์ ท่านสามารถโทรปรึกษาจิตแพทย์ได้ตามเบอร์ของสถานบริการทางจิตต่างๆ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ปรึกษา เช่น ปัญหาหย่าร้าง ปัญหาความเครียดสะสม ซึมเศร้า วิตกกังวลจนเกินเหตุ เป็นต้น
  • ปรึกษาคุณหมอออนไลน์ การปรึกษาคุณหมอทางโลกออนไลน์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการรับคำปรึกษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้รับคำปรึกษาจำเป็นต้องเลือกรับคำปรึกษาจากช่องทางที่ปลอดภัยด้วย 

“ร่างกายป่วยได้ จิตใจก็ป่วยได้” 
การพบจิตแพทย์รักษาโรคทางใจ  ก็เหมือนกับ
การพบแพทย์รักษาโรคทางกาย


รายชื่อผู้จัดทำ
นางสาว ธนพร เทพกิฬา 53-1156-311-7
นาย พงศธร อันตะริกานนท์ 53-1156-320-8
นาย รัชนันท์ ศักดิโยธินธาดา 53-1156-325-7

29 April 2015

Test 2: DV สมมติเพื่อรณรงค์ให้รับน้องใหม่อย่างมีสติ

ความสูญเสียจากการต้อนรับน้องใหม่ในสถาบันการศึกษาเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน มีออกข่าวถึงความสูญเสียทุกปี

หมายเหตุ DV ด้านล่างเป็นข้อมูลสมมติ กรุณาอย่านำไปใช้อ้างอิง 



ก็หวังว่า DV ชุดนี้อาจจะช่วยปลุกจิตสำนึก ให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องหันมาคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการรับน้องให้มากขึ้น

ลิงก์ Github - https://github.com/ratchanan/DV_Test2_5311563257

commit 1 - 0987507cdb3b076aeb70fbaa41146393a8258e18
commit 2 - db7b3e47149bffaa92d7067672c3283547cc19a2

25 March 2015

Assignment 1: DV using D3.js - พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร

สำหรับงานในครั้งนี้คือการสร้าง Data Visualization ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชีวิต(จริงๆ นะ) มีอะไรอยากติชมก็เชิญตามสบายเลยนะครับ

หัวข้อที่เลือกมาในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร ซึ่งมีที่มาจากผลสำรวจ สรุปสําหรับผู้บริหาร การสํารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ถ้าถามว่ามีความสำคัญยังไง ก็ต้องตอบว่ามีความสำคัญมาก เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าบุหรี่มีโทษร้ายแรงต่อสุขภาพ ทั้งต่อตัวผู้สูบเองและผู้คนรอบข้างที่สูดดมควันเข้าไป การสำรวจนี้จะทำให้เราได้รู้ว่าจำนวนคนที่สูบบุหรี่นั้นมีมากน้อยแค่ไหน  เรา(คนที่ไม่สูบ)จำเป็นต้องกังวลหรือเปล่า หรือการรณรงค์งดสูบต่างๆ นั้นมีผลแค่ไหน ผลสำรวจนี้จะบอกเราได้ครับ

จำนวนผู้สูบบุหรี่

Source code - chart1.html

จะเห็นได้ว่าตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนของผู้สูบบุหรี่จะคงที่อยู่ในช่วงราวร้อยละ 20 เศษๆ และล่าสุดในปี 2014 อยู่ที่ราวร้อยละ 21 ถ้าถามว่าคิดเป็นจำนวนคนเท่าไหร่ก็ลองชมชาร์ตอันถัดไป

Source code - chart2.html

จะเห็นว่าจากประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีทั้งหมด 54.8 ล้านคน มีผู้สูบบุหรี่ถึง 11.36 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรในส่วนนี้ และเมื่อนำจำนวนผู้สูบบุหรี่มาแบ่งกลุ่มจะได้ตามชาร์ตดังนี้

Source code - chart3.html
Source code - chart4.html

จาก 2 ชาร์ตที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และแหล่งที่อยู่อาศัย, สภาพสังคมของประชากรอย่างในหรือนอกเขตเทศบาลก็มีส่วนในการตัดสินเลือกสูบบุหรี่เช่นกัน

นักสูบหน้าใหม่

Source code - chart5.html

กราฟด้านบนคืออายุเฉลี่ยของเยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก จะเห็นได้ว่าในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาอายุของเยาวชนที่เริ่มสูบมีแนวโน้มที่ "ต่ำลง" โดยในปี 2014 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่คือ 15.6 ปี

ควันบุหรี่มือสอง

Source code - chart6.html

ชาร์ตด้านบนนี้แสดงถึงสัดส่วนผู้ที่สูบบุหรี่ในบ้านหรือนอกบ้านโดยที่มีสมาชิกคนอื่นอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ผลปรากฏว่ายังมีผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อย(ร้อยละ40) เลือกที่จะสูบอยู่ในบ้านโดยไม่เป็นห่วงสุขภาพของสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน

จากผลการสำรวจในครั้งนี้ ทำให้เกิดประเด็นที่น่าสนใจว่ามาตรการและการรณรงค์ต่างๆ ที่รัฐทำเพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ผลจริงๆ หรือไม่  สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ยังไม่ตรงจุดหรือเปล่า  ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไป

11 February 2015

งานที่สี่: D3.js

D3.js คือไลบรารี่ของภาษา JavaScript ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้-ผู้พัฒนาสามารถสร้างสรรค์ Data Visualization ได้อย่างหลากหลายตามต้องการ
ตัวอย่างชาร์ตต่างๆ

03 February 2015

งานที่สาม: แนะนำเครื่องมือและชาร์ตแบบอื่นๆ

สวัสดีครับ ครั้งนี้เราขอเริ่มที่หัวข้องานกันก่อน
  • หาเครื่องมือสร้างชาร์ตอื่นที่น่าสนใจ
  • ชาร์ตแบบอื่นที่ไม่มีในห้องเรียน
เครื่องสร้างชาร์ตอื่นที่น่าสนใจในครั้งนี้ เป็นเครื่องมือจากเว็บไซต์ highcharts.com ซึ่งมีสร้างชาร์ตด้วยการใช้ JavaScript คล้ายกับของ Google Chart ที่เราเคยนำเสนอไป 
ตัวเว็บไซต์มีหน้าตาที่สวยงาม มีตัวอย่างของชาร์ตแบบต่างๆ ให้ทดลองนำไปใช้งานมากมาย ซึ่งล้วนแต่สวยงามดูดี มีธีมและลักษณะให้เลือกใช้ได้หลายแบบ

ชาร์ตที่ลองสร้างขึ้น

หากสนใจสามารถลองได้ที่ www.highcharts.com


ต่อมาคือชาร์ตแบบอื่นที่ไม่มีในห้องเรียน ซึ่งในครั้งนี้ได้หามา 2 แบบ อันได้แก่ 

Waterfall Chart (ชาร์ตน้ำตก)
ชาร์ตน้ำตกมีลักษณะที่คล้าย bar chart แต่สิ่งที่โดดเด่นแตกต่างก็คือชาร์ตน้ำตกจะมีการแสดงสัดส่วนของการ "เพิ่มขึ้นและลดลง" ในชาร์ตจะประกอบด้วยส่วนหลักๆ คือ ค่าเริ่มต้น ค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง และผลลัพธ์ที่เหลือ ซึ่งข้อมูลที่เหมาะสมกับชาร์ตน้ำตกจะเป็นข้อมูลประเภทรายรับ-รายจ่ายหรือปริมาณของสิ่งของที่มีการเพิ่มขึ้น-ลดลง ซึ่งสามารถเข้าใจได้ง่าย เห็นผลลัพธ์ชัดเจน


Heat Map (แผนภูมิความร้อน)
heat map มีลักษณะที่ใช้ "สี" เพื่อบ่งบอกความเข้มข้นของค่าใน map สีที่เข้มมักจะบอกถึงค่าที่สูง และสีอ่อนมักบ่งบอกถึงค่าต่ำ ข้อมูลที่เหมาะสมกับการใช้ heat map คือข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปริมาณความหนาแน่นของสิ่งของบางอย่าง ซึ่งผลที่ได้จะเป็นกลุ่มก้อนของสีที่สามารถเข้าใจได้ง่าย

28 January 2015

งานที่สอง: ทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ - ยอดใช้งาน Windows จากผู้ใช้ Steam

วันนี้เราจะมาทดลองใช้งานเครื่องมือสร้างชาร์ตแบบต่างๆ กัน ซึ่งมีหัวข้อดังนี้
  • เครื่องมือออนไลน์ตามที่อาจารย์กำหนด
  • Google Charts
  • เครื่องมืออื่นๆ
ข้อมูลในคราวนี้ เป็นเรื่องของยอดใช้งาน Windows ในรุ่นต่างๆ ของผู้ใช้ Steam ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายเกม PC รายใหญ่ โดยทาง Steam จะทำการสำรวจเครื่องของลูกค้าแล้วนำข้อมูลมาทำเป็นสถิติและเผยแพร่เป็นรายเดือน ซึ่งหากท่านสนใจก็สามารถเข้าชมได้ที่นี่
โดยข้อมูลแบบตารางเป็นดังนี้
เริ่มจากเครื่องมือออนไลน์ที่ทางอาจารย์กำหนดให้ ผมได้เลือกมา 2 เว็บไซต์ อันได้แก่
หน้าตาเว็บไซต์
สร้างชาร์ตโดย import ข้อมูลจากไฟล์ csv
เลือกปรับแต่งได้หลากหลาย
export ไฟล์ได้หลายแบบ (แต่ต้องเสียเงินบ้าง)
ชาร์ตที่ได้

แบบ pie

แบบ bar
เริ่มจากเพิ่มข้อมูล (ต้องพิมพ์ใส่เอง)
เลือกรูปแบบที่จะนำเสนอ
ใส่รายละเอียด
ชาร์ตที่ได้
ต่อมาคือ Google Chart ซึ่งเป็น API ของทาง Google ซึ่งมีภาษาหลักที่ใช้คือ HTML ร่วมกับ Javascript ทำให้สามารถรันชาร์ตบนเบราเซอร์ได้เลย
มีชาร์ตให้เลือกเรียนรู้และใช้งานหลายแบบ
ชาร์ตที่ได้
bar chart แบบปกติ
bar chart แบบ Material Design
และสุดท้ายที่ผมหามาเองคือเว็บ infogr.am
มี infographics ให้สร้างด้วย
แน่นอนว่ามีชาร์ตให้สร้าง
สร้างชาร์ตจากไฟล์ csv ได้
สามารถปรับแต่งได้ในระดับหนึ่ง
เลือกแชร์ได้หลากหลาย
ชาร์ตที่ได้



จากชาร์ตทั้งหมดที่ผ่านมา แสดงเห็นให้แนวโน้มที่ว่าผู้ใช้ Windows 7 64 bit มีสัดส่วนที่ลดลง ส่วน Windows 8.1 64 bit ซึ่งเป็นรุ่นใหม่กว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แม้จะเล็กน้อยแต่ก็ถือว่าเป็นทิศทางที่น่าสนใจ และจำนวนผู้ใช้ Windows 10 (คาดว่าเป็นรุ่น preview) ก็กำลังเริ่มเข้ามาเช่นกัน น่าเสียดายที่ข้อมูลนี้เป็นการเปรียบเทียบแบบเดือนต่อเดือน ข้อมูลแนวโน้มจึงยังไม่ชัดเจนนัก

สรุปโดยรวมแล้ว การทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างชาร์ตในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้ว่าเครื่องมือแต่ละอย่างนั้นมีการใช้งานและความเหมาะสมที่แตกต่างกัน ไม่จะเป็นรูปแบบชาร์ต การนำเข้าข้อมูล การเผยแพร่ การนำไปใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณผู้อ่านจะพอใจและนำไปใช้อย่างไร

20 January 2015

งานแรก: ทดลองสร้างกราฟ - ยอดขายของเกม Call of Duty

สิ่งจะมานำเสนอในวันนี้คือการทดลองสร้างกราฟด้วยเครื่องมือสองชนิดคือ
  • Microsoft Excel 
  • ภาษา Processing
ซึ่งหัวข้อที่หยิบยกมาในครั้งนี้คือ ยอดขายของเกมคอมพิวเตอร์ "Call of Duty"
ซึ่งเป็นเกมยุคใหม่ที่ได้รับความนิยมสูง มีการวางจำหน่ายภาคต่อเป็นรายปี จึงเหมาะแก่การนำมาใช้วัดความนิยมทั้งกับตัวเกมในตระกูลนี้เอง และชี้วัดความเฟื่องฟูของธุรกิจวงการเกมในช่วงหลายปีหลังได้เป็นอย่างดี

โดยมีข้อมูลที่รวบรวมจาก www.vgchartz.com (ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 20 ม.ค. 2014) ดังนี้

ปีที่วางจำหน่าย/ชื่อเกม/ยอดขาย (ชุด)
  1. 2005 - Call of Duty 2 => 2,010,000 
  2. 2006 - Call of Duty 3 => 7,450,000 
  3. 2007 - Call of Duty 4: Modern Warfare => 16,860,000 
  4. 2008 - Call of Duty: World at War => 14,520,000 
  5. 2009 - Call of Duty: Modern Warfare 2 => 24,740,000 
  6. 2010 - Call of Duty: Black Ops => 29,610,000 
  7. 2011 - Call of Duty: Modern Warfare 3 => 30,110,000 
  8. 2012 - Call of Duty: Black Ops II => 28,070,000 
  9. 2013 - Call of Duty: Ghosts => 25,280,000 
  10. 2014 - Call of Duty: Advanced Warfare => 17,600,000 
และเมื่อนำข้อมูลนี้ไปสร้างเป็นกราฟ
  • สร้างด้วย Microsoft Excel 

  • สร้างด้วยภาษา Processing

                *หมายเหตุ - ผู้เขียนยังไม่ถนัดในการใช้งานภาษา Processing มากนัก จะพยายามพัฒนาฝีมือต่อไปในอนาคต

จากกราฟที่ได้จะเห็นได้ว่า ยอดจำหน่ายของเกมในตระกูล Call of Duty มียอดขายที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเกิน 10 ล้านชุดในปี 2007 ซึ่งเป็นปีที่ Call of Duty 4: Modern Warfare วางจำหน่าย และภายหลังจากนั้นยอดขายในปีต่อๆ มาก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จนสูงที่สุดในปี 2011 กับภาค Modern Warfare 3 ที่มียอดขายสูงถึงหลัก 30 ล้านชุด และค่อยๆ ลดลงในปีต่อๆ มา (มีข้อสังเกตว่าเกมภาค Advanced Warfare ยังมียอดขายที่น้อยกว่าภาคก่อนหน้า เนื่องจากเพิ่งวางขายในเดือนพฤศจิกายน ปี 2014) 

และนี่คือตัวอย่างของการใช้กราฟนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพและแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น