ทั้งนี้ หลายคนอาจมี ความเข้าใจผิด ว่าการเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์นั้น จำเป็นจะต้องป่วยเป็นโรคจิตเภท (วิกลจริต) เท่านั้นถึงจะเข้ารับการรักษาได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่มีสภาวะซึมเศร้า ผู้ที่ติดสารเสพติด ผู้ที่มีความวิตกกังวล หรือหมกมุ่นกับบ้างสิ่งบางอย่างมากจนเกินไป ก็สามารถรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ได้เช่นกัน ดังนั้น การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพจิตในครั้งนี้ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงภัยร้ายในตัวเรา และหวังว่าทุกท่านจะหันมาดูแลและเอาใส่ใจสุขภาพจิตของตัวเองมากยิ่งขึ้น
โรคทางจิตเวช คือ?
โรคจิตเวช คือ กลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้นเกิดความทุกข์ทรมาน หรือมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ โรคจิตเวชแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยถือเอาสาเหตุและอาการเป็นตัวกำหนดโรคนั้นๆ โรคจิตเวชที่พบบ่อยๆ ได้แก่
- โรคจิตเภท (Schizophrenia)
- โรคซึมเศร้า (Depression)
- โรควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized Anxiety Disorder)
- ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้สารเสพติด (Substance-related Disorder)
ที่มา (http://www.manarom.com/article-detail.php?id=93)
โรคซึมเศร้า (Depression) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ซึ่งอาจเกิดจากความสูญเสียหรือความผิดหวัง โดยผลของโรคจะกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา
โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) คือ เป็นกลุ่มอาการของโรคจิตเวชที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง เป็นอาการวิตกกังวลที่มากเกิดกว่าคนปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อคนเราจะมีความวิตกกังวลเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆเข้ามาและความกังวลจะหมดไปเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไป แต่ในผู้ที่มีอาการของโรควิตกกังวลนั้นอาการกังวลเหล่านี้จะยังคงมีอยู่แม้เหตุการณ์นั้นๆจะผ่านไปแล้ว ก่อให้เกิดความหวาดระแวง ย้ำคิดย้ำทำถึงความหวาดกลัวเหล่านั้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันได้
อะไรคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคจิตเวช?
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคจิตเวชนั้นมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยจากภายในและปัจจัยเร่งที่เป็นตัวเร่งให้อาการกำเริบ ซึ่งปัจจัยเร่งนั้นก็จะเป็นจำพวก ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง การที่สมองเสื่อมถอย ความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมน ความเครียด เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจคือปัจจัยที่เกิดจากภายใน เพราะนอกจาก สาเหตุจะเกิดจากพื้นฐานอารมณ์ของแต่ละบุคลแล้ว โรคทางจิตเวชยังสามารถเกิดจากพันธุกรรมได้อีกด้วย!!!
ทำไม ‘โรคจิตเวช’ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง?
เพราะโรคจิตเวชนั้นเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รักการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องถึงจะส่งผลในทางที่ดี แต่ในประเทศไทยนั้นเรายังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยจึงมักไม่ทราบว่าตัวเองป่วยจนกระทั้งมีอาการของโรคที่แสดงออกมาชัดเจนแล้วถึงจะได้รับการรักษา หรือในผู้ป่วยบางรายเมื่อทราบว่าตัวเองป่วยก็จะเกิดการอาการต่อต้านและไม่ยอมรับความจริง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาเพราะกลัวคนรอบข้างกล่าวหาว่าตนเป็นบ้า ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาณต่อตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือในบางรายอาจถึงขั้นทำร้ายตัวเองและผู้อื่นได้ ทั้งนี้ในประเทศไทยยังมีแนวโน้มของผู้ป่วยโรคจิตเวชเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย
และจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติถึงสุขภาพจิตของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปี จะเห็นได้ว่ามีคนไทยเกือบ 20 เปอร์เซ็นที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต และมีคนไทยเพียงไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นเท่านั้นที่มีสุขภาพจิตที่ดีกว่าปกติ
แนวโน้มของโรคจิตเวชในไทย
ในปัจจุบันนั้นโรคจิตเวชในไทยมีแนวโน้มของอัตราการป่วยพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และที่น่าสังเกตุคือแม้ว่าโรคจิตเวชจะยังคงมีอัตราการป่วยน้อยกว่าโรคยอดนิยมอย่างโรคหัวใจอยู่ถึง 49.16 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับมีอัตราการป่วยไม่แตกต่างกันมากนักในโรคหลอดเลือดในสมอง และที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งคือ โรคที่พบได้ง่ายในปัจจุบันอย่างโรคมะเร็งกลับมีอัตราการป่วยของโรคน้อยกว่าโรคจิตเวชอย่างเห็นได้ชัดถึง 31.54 เปอร์เซ็นต์
เปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคจิตเวชต่อโรคสำคัญต่างๆ
จากการแบ่งประเภทของโรคจิตเวช ได้แก่ โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ติดยาเสพย์ติด และการการฆ่าตาย พบว่าโรคจิตเภทมีอัตราค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยมากที่สุด เนื่องจากโรคจิตเภทใช้เวลาในการรักษานานกว่าโรคทางจิตอื่นๆและบางครั้งอัตราการกลับมาเป็นซ้ำพบได้ง่ายกว่าโรคจิตเวชประเภทอื่นๆ
ซึ่งจากการจัดลำดับข้อมูลของโรคที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียสุขภาวะ 20 อันดับ จะเห็นได้ว่าถึงแม้โรคจิตเวชจะไม่ก่อให้เกิดอัตราการสูญเสียถึงชีวิตมากนัก แต่กลับก่อให้เกิดความเจ็บป่วย พิการ หรือทุกข์ทรมาณในการใช้ชีวิตเป็นลำดับต้นๆ ในจำนวนของโรคสองร้อยกว่าโรคที่พบได้ทั่วไป
การเข้ารับการรักษา
- เข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการปรึกษาจากนักจิตวิทยาได้ โดยนักจิตวิทยาจะใช้การพูดคุยและปรับมุมมองกับคนไข้เป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนมากผู้ป่วยที่เข้ารับการปรึกษาจะเป็นผู้ป่วยประเภทที่เกิดความบกพร่องทางด้านจิตใจ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น แต่หากผู้ป่วยมีอาการขั้นรุนแรง นักจิตวิทยาจะแนะนำให้เข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์โดยตรง
- เข้าพบจิตแพทย์ การเข้าพบจิตแพทย์นั้นผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับโรพยาบาลที่มีแผนกจิตเวชได้เลย โดยคุณหมอสามารถให้คำปรึกษา และจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ หรือหากมีอาการค่อนข้างรุนแรงคุณหมอสามารถทำการรักษาต่อได้เลย
- โทรปรึกษาปัญหาทางจิตเวช สำหรับผู้ป่วยที่ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์โดยตรง หรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเดินทางเข้าไปพบจิตแพทย์ ท่านสามารถโทรปรึกษาจิตแพทย์ได้ตามเบอร์ของสถานบริการทางจิตต่างๆ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ปรึกษา เช่น ปัญหาหย่าร้าง ปัญหาความเครียดสะสม ซึมเศร้า วิตกกังวลจนเกินเหตุ เป็นต้น
- ปรึกษาคุณหมอออนไลน์ การปรึกษาคุณหมอทางโลกออนไลน์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการรับคำปรึกษา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้รับคำปรึกษาจำเป็นต้องเลือกรับคำปรึกษาจากช่องทางที่ปลอดภัยด้วย
“ร่างกายป่วยได้ จิตใจก็ป่วยได้”
การพบจิตแพทย์รักษาโรคทางใจ ก็เหมือนกับ
การพบแพทย์รักษาโรคทางกาย
การพบแพทย์รักษาโรคทางกาย
รายชื่อผู้จัดทำ
นางสาว ธนพร เทพกิฬา 53-1156-311-7
นาย พงศธร อันตะริกานนท์ 53-1156-320-8
นาย รัชนันท์ ศักดิโยธินธาดา 53-1156-325-7
ปรึกษาได้ไหมครับ
ReplyDeleteถ้าอยากปรึกษาด้านปัญหาทางจิต ผมคงช่วยไม่ได้มากครับ พอดีไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ต้องขอโทษด้วยจริงๆ
Deleteแต่ก็ขอแนะนำให้ลองไปปรึกษาในช่องทางเหล่านี้แทนนะครับ
- ปรึกษาจิตแพทย์โดยตรง
- เพจเฟซบุ๊กของสมาคมจิตแพทย์ https://m.facebook.com/ThaiPsychiatricAssociation
- สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323