25 March 2015

Assignment 1: DV using D3.js - พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร

สำหรับงานในครั้งนี้คือการสร้าง Data Visualization ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชีวิต(จริงๆ นะ) มีอะไรอยากติชมก็เชิญตามสบายเลยนะครับ

หัวข้อที่เลือกมาในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร ซึ่งมีที่มาจากผลสำรวจ สรุปสําหรับผู้บริหาร การสํารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ถ้าถามว่ามีความสำคัญยังไง ก็ต้องตอบว่ามีความสำคัญมาก เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าบุหรี่มีโทษร้ายแรงต่อสุขภาพ ทั้งต่อตัวผู้สูบเองและผู้คนรอบข้างที่สูดดมควันเข้าไป การสำรวจนี้จะทำให้เราได้รู้ว่าจำนวนคนที่สูบบุหรี่นั้นมีมากน้อยแค่ไหน  เรา(คนที่ไม่สูบ)จำเป็นต้องกังวลหรือเปล่า หรือการรณรงค์งดสูบต่างๆ นั้นมีผลแค่ไหน ผลสำรวจนี้จะบอกเราได้ครับ

จำนวนผู้สูบบุหรี่

Source code - chart1.html

จะเห็นได้ว่าตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนของผู้สูบบุหรี่จะคงที่อยู่ในช่วงราวร้อยละ 20 เศษๆ และล่าสุดในปี 2014 อยู่ที่ราวร้อยละ 21 ถ้าถามว่าคิดเป็นจำนวนคนเท่าไหร่ก็ลองชมชาร์ตอันถัดไป

Source code - chart2.html

จะเห็นว่าจากประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปีทั้งหมด 54.8 ล้านคน มีผู้สูบบุหรี่ถึง 11.36 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรในส่วนนี้ และเมื่อนำจำนวนผู้สูบบุหรี่มาแบ่งกลุ่มจะได้ตามชาร์ตดังนี้

Source code - chart3.html
Source code - chart4.html

จาก 2 ชาร์ตที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และแหล่งที่อยู่อาศัย, สภาพสังคมของประชากรอย่างในหรือนอกเขตเทศบาลก็มีส่วนในการตัดสินเลือกสูบบุหรี่เช่นกัน

นักสูบหน้าใหม่

Source code - chart5.html

กราฟด้านบนคืออายุเฉลี่ยของเยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก จะเห็นได้ว่าในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาอายุของเยาวชนที่เริ่มสูบมีแนวโน้มที่ "ต่ำลง" โดยในปี 2014 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่คือ 15.6 ปี

ควันบุหรี่มือสอง

Source code - chart6.html

ชาร์ตด้านบนนี้แสดงถึงสัดส่วนผู้ที่สูบบุหรี่ในบ้านหรือนอกบ้านโดยที่มีสมาชิกคนอื่นอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ผลปรากฏว่ายังมีผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อย(ร้อยละ40) เลือกที่จะสูบอยู่ในบ้านโดยไม่เป็นห่วงสุขภาพของสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน

จากผลการสำรวจในครั้งนี้ ทำให้เกิดประเด็นที่น่าสนใจว่ามาตรการและการรณรงค์ต่างๆ ที่รัฐทำเพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ผลจริงๆ หรือไม่  สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ยังไม่ตรงจุดหรือเปล่า  ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไป

No comments:

Post a Comment