28 January 2015

งานที่สอง: ทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ - ยอดใช้งาน Windows จากผู้ใช้ Steam

วันนี้เราจะมาทดลองใช้งานเครื่องมือสร้างชาร์ตแบบต่างๆ กัน ซึ่งมีหัวข้อดังนี้
  • เครื่องมือออนไลน์ตามที่อาจารย์กำหนด
  • Google Charts
  • เครื่องมืออื่นๆ
ข้อมูลในคราวนี้ เป็นเรื่องของยอดใช้งาน Windows ในรุ่นต่างๆ ของผู้ใช้ Steam ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายเกม PC รายใหญ่ โดยทาง Steam จะทำการสำรวจเครื่องของลูกค้าแล้วนำข้อมูลมาทำเป็นสถิติและเผยแพร่เป็นรายเดือน ซึ่งหากท่านสนใจก็สามารถเข้าชมได้ที่นี่
โดยข้อมูลแบบตารางเป็นดังนี้
เริ่มจากเครื่องมือออนไลน์ที่ทางอาจารย์กำหนดให้ ผมได้เลือกมา 2 เว็บไซต์ อันได้แก่
หน้าตาเว็บไซต์
สร้างชาร์ตโดย import ข้อมูลจากไฟล์ csv
เลือกปรับแต่งได้หลากหลาย
export ไฟล์ได้หลายแบบ (แต่ต้องเสียเงินบ้าง)
ชาร์ตที่ได้

แบบ pie

แบบ bar
เริ่มจากเพิ่มข้อมูล (ต้องพิมพ์ใส่เอง)
เลือกรูปแบบที่จะนำเสนอ
ใส่รายละเอียด
ชาร์ตที่ได้
ต่อมาคือ Google Chart ซึ่งเป็น API ของทาง Google ซึ่งมีภาษาหลักที่ใช้คือ HTML ร่วมกับ Javascript ทำให้สามารถรันชาร์ตบนเบราเซอร์ได้เลย
มีชาร์ตให้เลือกเรียนรู้และใช้งานหลายแบบ
ชาร์ตที่ได้
bar chart แบบปกติ
bar chart แบบ Material Design
และสุดท้ายที่ผมหามาเองคือเว็บ infogr.am
มี infographics ให้สร้างด้วย
แน่นอนว่ามีชาร์ตให้สร้าง
สร้างชาร์ตจากไฟล์ csv ได้
สามารถปรับแต่งได้ในระดับหนึ่ง
เลือกแชร์ได้หลากหลาย
ชาร์ตที่ได้



จากชาร์ตทั้งหมดที่ผ่านมา แสดงเห็นให้แนวโน้มที่ว่าผู้ใช้ Windows 7 64 bit มีสัดส่วนที่ลดลง ส่วน Windows 8.1 64 bit ซึ่งเป็นรุ่นใหม่กว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แม้จะเล็กน้อยแต่ก็ถือว่าเป็นทิศทางที่น่าสนใจ และจำนวนผู้ใช้ Windows 10 (คาดว่าเป็นรุ่น preview) ก็กำลังเริ่มเข้ามาเช่นกัน น่าเสียดายที่ข้อมูลนี้เป็นการเปรียบเทียบแบบเดือนต่อเดือน ข้อมูลแนวโน้มจึงยังไม่ชัดเจนนัก

สรุปโดยรวมแล้ว การทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างชาร์ตในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้ว่าเครื่องมือแต่ละอย่างนั้นมีการใช้งานและความเหมาะสมที่แตกต่างกัน ไม่จะเป็นรูปแบบชาร์ต การนำเข้าข้อมูล การเผยแพร่ การนำไปใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณผู้อ่านจะพอใจและนำไปใช้อย่างไร

20 January 2015

งานแรก: ทดลองสร้างกราฟ - ยอดขายของเกม Call of Duty

สิ่งจะมานำเสนอในวันนี้คือการทดลองสร้างกราฟด้วยเครื่องมือสองชนิดคือ
  • Microsoft Excel 
  • ภาษา Processing
ซึ่งหัวข้อที่หยิบยกมาในครั้งนี้คือ ยอดขายของเกมคอมพิวเตอร์ "Call of Duty"
ซึ่งเป็นเกมยุคใหม่ที่ได้รับความนิยมสูง มีการวางจำหน่ายภาคต่อเป็นรายปี จึงเหมาะแก่การนำมาใช้วัดความนิยมทั้งกับตัวเกมในตระกูลนี้เอง และชี้วัดความเฟื่องฟูของธุรกิจวงการเกมในช่วงหลายปีหลังได้เป็นอย่างดี

โดยมีข้อมูลที่รวบรวมจาก www.vgchartz.com (ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 20 ม.ค. 2014) ดังนี้

ปีที่วางจำหน่าย/ชื่อเกม/ยอดขาย (ชุด)
  1. 2005 - Call of Duty 2 => 2,010,000 
  2. 2006 - Call of Duty 3 => 7,450,000 
  3. 2007 - Call of Duty 4: Modern Warfare => 16,860,000 
  4. 2008 - Call of Duty: World at War => 14,520,000 
  5. 2009 - Call of Duty: Modern Warfare 2 => 24,740,000 
  6. 2010 - Call of Duty: Black Ops => 29,610,000 
  7. 2011 - Call of Duty: Modern Warfare 3 => 30,110,000 
  8. 2012 - Call of Duty: Black Ops II => 28,070,000 
  9. 2013 - Call of Duty: Ghosts => 25,280,000 
  10. 2014 - Call of Duty: Advanced Warfare => 17,600,000 
และเมื่อนำข้อมูลนี้ไปสร้างเป็นกราฟ
  • สร้างด้วย Microsoft Excel 

  • สร้างด้วยภาษา Processing

                *หมายเหตุ - ผู้เขียนยังไม่ถนัดในการใช้งานภาษา Processing มากนัก จะพยายามพัฒนาฝีมือต่อไปในอนาคต

จากกราฟที่ได้จะเห็นได้ว่า ยอดจำหน่ายของเกมในตระกูล Call of Duty มียอดขายที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเกิน 10 ล้านชุดในปี 2007 ซึ่งเป็นปีที่ Call of Duty 4: Modern Warfare วางจำหน่าย และภายหลังจากนั้นยอดขายในปีต่อๆ มาก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จนสูงที่สุดในปี 2011 กับภาค Modern Warfare 3 ที่มียอดขายสูงถึงหลัก 30 ล้านชุด และค่อยๆ ลดลงในปีต่อๆ มา (มีข้อสังเกตว่าเกมภาค Advanced Warfare ยังมียอดขายที่น้อยกว่าภาคก่อนหน้า เนื่องจากเพิ่งวางขายในเดือนพฤศจิกายน ปี 2014) 

และนี่คือตัวอย่างของการใช้กราฟนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพและแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น

ทักทาย

สวัสดีครับ บล็อกนี้คือส่วนหนึ่งของวิชา Data Visualization 
ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลมาสร้างเป็นสื่อที่สามารถเข้าใจได้ง่าย 
เช่น กราฟต่างๆ เป็นต้น 

หวังว่าบล็อกนี้จะมีประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจ ไม่มากก็น้อย